วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การใช้รถยก ( Fork lift)


  • ผู้ขับขี่รถยกจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมีใบอนุญาตขับขี่โดยเฉพาะเท่านั้น





  • ต้องแน่ใจว่ารถยกได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เหมาะสม





  • ก่อนและหลังการยกงาขึ้น/ลง ต้องให้สัญญาณและเตือนผู้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง





  • ห้ามยืน เดิน หรือทำงานใต้งารถยกที่กำลังทำงาน





  • บรรทุกวัสดุตามพิกัดที่กำหนด





  • หากมีเหตุขัดข้องระหว่างการทำงาน ห้ามเข้าใต้งา หรือพยายามที่จะทำการซ่อมแซมหรือกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้น






  • ก่อนเคลื่อนรถยกออกไป ต้องสำรวจว่าบริเวณใกล้เคียงมีสิ่งกีดขวางหรือไม่








  • ตรวจสอบรถยกทุกวัน หากมีจุดผิดปกติให้รายงานผู้รับผิดชอบ ห้ามใช้รถยกที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย








  • รีบรายงานอุบัติเหตุ หรือเหตุผิดปกติให้ผู้รับผิดชอบทราบทันทีเพื่อสามารถตรวจสอบสาเหตุได้ทันที








  • ตรวจสอบความเรียบร้อยของแบตเตอรี่ ถังน้ำมันและฝาปิด ก่อนสตาร์ทเครื่อง หรือเริ่มทำงาน








  • ควบคุมความเร็วรถให้สามารถที่จะหยุดได้กะทันหัน








  • บีบแตรให้สัญญาณขณะขับรถในมุมอับ








  • สอดงาใต้วัสดุที่บรรทุกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะขับเครื่องจะต้องให้วัสดุพิงพนักพิงวัสดุ และกางงาออกให้พอดีกับน้ำหนัก (บรรทุก) วัสดุ








  • ห้ามใช้ชั้นวางที่ชำรุดในการยก








  • การเคลื่อนรถออกทุกครั้งต้องยกงาสูงกว่าพื้นประมาณ 6 - 8 นิ้ว เสมอ








  • ขณะรถวิ่ง ให้ยกวัสดุในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้








  • ขับรถให้ความเร็วรถพอเหมาะกับสภาพพื้นผิวถนน น้ำหนักบรรทุก และสภาพของบริเวณทีทำงาน








  • หากวัสดุที่บรรทุกสูงจนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ให้ขับรถถอยหลังไปแทน








  • ห้ามขนย้ายวัสดุที่จัดตั้งไม่เป็นระเบียบ








  • ตรวจสอบสิ่งกีดขวางเหนือศรีษะทุกครั้งที่จะขนย้ายวัสดุ








  • ห้ามออกรถเร็ว หยุดกระทันหัน หรือเลี้ยวฉับพลัน โดยเฉพาะในขณะที่กำลังบรรทุกวัสดุ








  • เว้นระยะห่างจากยานพาหนะคันอื่นประมาณ 3 ช่วงคันรถ(นับจากปลายงายกเข้ามา)








  • ห้ามแซงซึ่งกันและกันในบริเวณที่อันตราย เช่น มุมอับ ทางแยก ฯ








  • ต้องคำนึงถึงความสูง ความกว้างของรถเสมอ และระวังคนเนเท้าโผล่ออกมาจากมุมอับ








  • บีบแตรให้สัญญาณและขับรถช้า ๆ เมื่อเข้าใกล้ทางเดินประตู ทางเข้า และรถยกคันอื่น








  • ระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้ทางเดินเท้า หลีกเลี่ยงการขับรถยกเข้าใกล้คนยืนอยู่ริมรั้วหรือริมถนน








  • ลดความเร็วลงเมื่อเข้าใกล้บริเวณมุมอับที่จะมองไม่ถนัด เช่น มุมประตู หรือขับรถชิดซ้ายไว้จนกว่าจะแน่ใจ








  • ห้ามขับแซงรถยกคันอื่นที่ไปทางเดียวกันในบริเวณทางแยก จุดอับ หรือบริเวณที่อันตราย








  • ห้ามขับรถทับสิ่งของที่ตกอยู่บนพื้น








  • รู้ตำแหน่งของล้อรถยกกับปลายงายกหรือสุดขอบของวัสดุที่จะยกให้ระมัดระวังในขณะกระดกปลายงาก่อนยก








  • ห้ามจับพวงมาลัย หรือขับขี่ขณะมือหรือถุงมือเปื้อนน้ำมันหรือลื่น








  • ตีเส้นสีเหลืองแสดงช่องเดินรถและบริเวณที่ทำงาน








  • ติดตั้งกระจก และหรือ ป้ายสัญญาณหยุด ในบริเวณประตู ทางเดิน หรือสถานที่ทำงานที่เป็นจุดอันตราย บีบแตรให้สัญญาณทุกครั้งที่เข้าใกล้บริเวณดังกล่าว








  • ปลดเกียร์ว่าง ใส่เบรค ลดงาให้อยู่ในระดับต่ำสุดและดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดหลังใช้งาน








  • ห้ามผู้โดยสารบนรถ








  • ดูกระจกเงาสะท้อนมุมถนน เมื่อถึงบริเวณถนนหักมุมและพร้อมที่จะหยุดหากมีเรื่องกระทันหัน และบีบแตรให้สัญญาณทุกครั้ง


    • ดับเครื่องก่อนเติมน้ำมันในบริเวณที่กำหนดทุกครั้ง
    • ตรวจการปิดฝาถังน้ำมันให้เรียบร้อยหลังเติมน้ำมัน และทำความสะอาดเมื่อน้ำมันหกก่อนการติดเครื่อง
    • ภาชนะบรรจุน้ำมัมันต้องติดฉลากให้ชัดเจน
    อุปกรณ์ดับเพลิงต้องติดไว้ที่บริเวณที่เติมน้ำมันและเตรียมพร้อมเสมอที่จะนำมาใช้งาน

    WWW.PCNFORKLIFT.COM

    ข้อควรระวังในการบำรุงรักษารถยก

    ในการใช้รถยกนั้นมีสิงที่ควรระวังมากมายเพื่อให้การใช้นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่หน้าที่ปฏิบัตงานนั้น คงลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรู้ข้อปฏิบัติ หรือ ข้อควรระวังกัน เพื่อให้การบำรุงรักษารถยกหรือการทำงานเป็นไปอย่างปลอดภัย
     เรามาดูกันว่าสิ่งที่ควรระวังในการบำรุงรักษารถยกที่คุณใช้งานอยู่มีอะไรบ้างกันเลย
            1.ไม่อนุญาติให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องยืนอยู่ใกล้รถยก
            2.ไม่ควรเก็บ น้ำมัน จารบี หรือผ้าที่เปื้อนไว้ใกล้ไฟ  ควรมีการเตรียมการถ้าเกิดกรณีไฟใหม้ จะต้องรู้ตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงและวิธีการใช้อุปกรณ์
            3.สวมหมวกแข้ง รองเท้าหัวเหล็ก และชุดทำงาน เมื่อมีการเจาะ เจียร การเคาะ หรือใฃ้ลมที่มีแรงดันสูง จะต้องใส่แว่นตาเสมอ
            4. ต้องเข้าใจการทำงานของรถยก ก่อนทำงาน และควรทำงานในพื้นที่ทีสะอาด
            5. ต้องจอดรถยกในพื้นที่เรียบ ดึงเบรคมือ ผลักคันโยกให้อยู่ในตำแหน่ง " ว่าง"  และวางงาให้เรียบกับพื้นและดับเครื่องยนต์
            6. ปลดสายแบตเตอรี่ ทุกครั้งที่มีการซ่อม
            7. ทำความสะอาดทันที่ เมือมีน้ำมันหรือ จาระบีเปื้อนบนพื้น หรือห้องคนขับ เพราะจะทำให้ลื่นไถล อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นๆได้
            8. การซ่อมทุกครั้งจะต้องดับเครื่องยนต์ก่อน แต่ถ้าจำเป็นต้องทำงาน ขณะติดเครื่องยนต์ จะต้องมีช่าง 2 คน โคย คนแรกนั่งบนรถ และอีกคนเป็นผู้ซ่อม
            9. ควรจำใว้เสมอว่า วงจรไฮดรอลิกอยู่ภายใต้ความดันที่สูงเพราะ ฉะนั้นเมื่อมีการซ่อมระบบไฮดรอลิกหรือบำรุงรักษาจะต้องลดแรงดันในระบบไฮดรอลิกเป็นอันดับแรก       ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล ที่ให้ความรู้แก่สาธารณชน
     
           ในการใช้รถยกนั้นมีสิงที่ควรระวังมากมายเพื่อให้การใช้นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่หน้าที่ปฏิบัตงานนั้น คงลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรู้ข้อปฏิบัติ หรือ ข้อควรระวังกัน เพื่อให้การบำรุงรักษารถยกหรือการทำงานเป็นไปอย่างปลอดภัย
     เรามาดูกันว่าสิ่งที่ควรระวังในการบำรุงรักษารถยกที่คุณใช้งานอยู่มีอะไรบ้างกันเลย
            1.ไม่อนุญาติให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องยืนอยู่ใกล้รถยก
            2.ไม่ควรเก็บ น้ำมัน จารบี หรือผ้าที่เปื้อนไว้ใกล้ไฟ  ควรมีการเตรียมการถ้าเกิดกรณีไฟใหม้ จะต้องรู้ตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงและวิธีการใช้อุปกรณ์
            3.สวมหมวกแข้ง รองเท้าหัวเหล็ก และชุดทำงาน เมื่อมีการเจาะ เจียร การเคาะ หรือใฃ้ลมที่มีแรงดันสูง จะต้องใส่แว่นตาเสมอ
            4. ต้องเข้าใจการทำงานของรถยก ก่อนทำงาน และควรทำงานในพื้นที่ทีสะอาด
            5. ต้องจอดรถยกในพื้นที่เรียบ ดึงเบรคมือ ผลักคันโยกให้อยู่ในตำแหน่ง " ว่าง"  และวางงาให้เรียบกับพื้นและดับเครื่องยนต์
            6. ปลดสายแบตเตอรี่ ทุกครั้งที่มีการซ่อม
            7. ทำความสะอาดทันที่ เมือมีน้ำมันหรือ จาระบีเปื้อนบนพื้น หรือห้องคนขับ เพราะจะทำให้ลื่นไถล อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นๆได้
            8. การซ่อมทุกครั้งจะต้องดับเครื่องยนต์ก่อน แต่ถ้าจำเป็นต้องทำงาน ขณะติดเครื่องยนต์ จะต้องมีช่าง 2 คน โคย คนแรกนั่งบนรถ และอีกคนเป็นผู้ซ่อม
            9. ควรจำใว้เสมอว่า วงจรไฮดรอลิกอยู่ภายใต้ความดันที่สูงเพราะ ฉะนั้นเมื่อมีการซ่อมระบบไฮดรอลิกหรือบำรุงรักษาจะต้องลดแรงดันในระบบไฮดรอลิกเป็นอันดับแรก   
    ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล ที่ให้ความรู้แก่สาธารณชน

    WWW.PCNFORKLIFT.COM

    วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

    คู่มือการใช้รถยกโฟล์คลิฟท์( FORKLIFT) อย่างถูกวิธี

    คู่มือการใช้รถยก โฟล์คลิฟท์(forklift) อย่างถูกวิธี
    ผู้ที่ได้รับการอนุญาต และอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น ควรเป็นผู้ขับขี่รถยก
    ท่านเป็นผู้มีความสามารถพอที่จะขับรถยกได้หรือไม่
    ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับรถยกที่ท่านใช้งานอยู่บ้างหรือไม่
    ท่านสวมเสื้อผ้ารัดกุมและหมวกนิรภัยระหว่างปฏิบัติงานหรือไม่
    ก่อนเริ่มงาน ควรตรวจสภาพของรถยก
    หยุดคิดสักนิดเพื่อความปลอดภัย ก่อนจะเริ่มงานประจำวันของท่าน
    รถที่จะพร้อมทำงานได้ต้องอยู่ในสภาพที่ดีพร้อม
    ปฏิเสธการทำงานทันที ถ้าท่านเห็นว่ารถยกไม่อยู่ในสภาพ
    ที่พร้อมจะทำงาน อันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
    เลือกใช้ PALLET ให้เหมาะสมกับของที่จะยก
    PALLET ที่ใช้เป็นฐานรองต้องอยู่ในสภาพดี การยุบหรือ
    หักพัง เกิดขึ้นเพราะ PALLET อยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงพอ
    ตั้งระยะความกว้างของงาให้พอเหมาะ
    ก่อนเข้ายกของ จงมั่นใจว่าระยะกว้างของงาอยู่ในระยะที่พอดีกับ PALLET
    การจัดระยะความกว้างของงาให้เหมาะสม ช่วยให้การยกของมืความทรงตัวดียิ่งขึ้น

    ระมัดระวังและรอบคอบในเรื่องน้ำหนักบรรทุก
    ในกรณีที่สิ่งของที่บรรทุกเป็นหีบห่อ ต่างน้ำหนักและขนาด
    บรรทุกแต่พอควร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งของหีบห่อ เพื่อความปลอดภัย
    น้ำหนักของสิ่งของที่บรรทุกบนงาควรจัดให้ได้ศูนย์ถ่วง
    เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างเกินส่วนกว้างของงา
    ควรทำงานด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งของ
    ที่บรรทุกเลื่อนหลุดออกจากงา ในกรณีที่บรรทุกของที่มี
    ความยาวมากๆ ระวังสิ่งของที่บรรทุกและหลุดเลื่อนออกจากแผงกั้นหน้ารถยก เช่น ท่อนซุง
    อย่ายกของที่บรรทุกไว้สูง ขณะที่รถยกวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับ
    เมื่อบบรรทุกของและรถต้องวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับ
    อย่ายกงาที่บรรทุกของไว้สูงๆ ควรยกให้สูงจากพื้นถนนเพียงเล็กน้อย
    เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระเทือนเพราะแรงสะดุด ซึ่งอาจทำให้รถคว่ำได้
    ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดอยู่ในระหว่างบริเวณของรถยก
    ห้ามยืนหรือเดินผ่านใต้งาของรถยก ไม่ว่าจะบรรทุกของอยู่หรือไม่
    ขณะขับรถ อย่ายื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยก
    ห้ามโดยเด็ดขาด มีให้ยื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยก
    มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ได้
    ให้ตะแกรงกั้นของและหลังคานิรภัยสำหรับการใช้งานยกของสูงๆ
    ระมัดระวังอย่างเต็มที่เพื่อมิให้มีของเลื่อนหลุดออกจากงา เมื่อใช้งานยกของสูงๆ
    เมื่อบรรทุกของอย่ายกงาขึ้นสูง ถ้าเสาอยู่ในลักษณะเอนหน้า
    เมื่อบรรทุกของอยู่บนงา เสาควรอยู่ในลักษณะตรงหรือ เอนหลังตลอดเวลา
    เว้นแต่เมื่อจะเข้าวางของลงบนชั้น
    เมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งอย่ายกงาสูง
    รักษาระดับงาให้สูงจากพื้นถนนประมาณ 100 ถึง 150 มิลลิเมตร (4-6นิ้ว)
    อย่ายกงานให้สูงเมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งโดยไม่จำเป็น
    ปรับให้เสาเอนหน้าหลัง เพื่อให้หีบห่อซึ่งบรรทุก อยู่บนงาแนบชิดกันแผงกั้น
    สอดงาเข้าใต้ของที่จะบรรทุกให้สุดความยาว ปรับเสาให้
    เอนหลังเพื่อให้หีบห่อที่บรรทุกอยู่บนงาแนบชิดกันแผงกั้น
    ก่อนออกรถ มองหน้า-หลังให้ดี
    ก่อนออกรถต้องแน่ใจว่า เสา งา และของที่บรรทุกอยู่ใน
    สภาพเรียบร้อย และเส้นทางที่จะนำรถออกวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น
    ด้านหน้าหรือหลังนั้นว่าง
    ออกและหยุดรถอย่างนิ่มนวล
    หลีกเลี่ยงการออกหรือหยุดรถโดยเร็วหรือกระตุก
    โดยเฉพาะเมื่อบรรทุกของหรือเข้าวางของ อย่าใช้ความเร็วสูง
    เมื่อจะเลี้ยวรถ ควรลดความเร็วลงแล้วจึงเลี้ยงรถ
    ใช้รถด้วยความระมัดระวัง
    ขับขี่ด้วยระมัดระวัง โดยใช้ความเร็วให้เหมาะสม
    พึงระลึกไว้เสมอว่าท่านทำงานอยู่ในบริเวณที่จำกัด
    เว้นระยะห่างให้กับรถยกคันอื่นบ้างเพื่อความปลอดภัย
    กะระยะเผื่อรถคันหลังไว้บ้าง ในกรณีที่ต้องหยุดรถโดยกะทันหัน
    อย่าแซงรถคันอื่น
    อย่าแซงรถคันอื่น ซึ่งวิ่งไปให้เส้นทางเดียวกัน อาจเกิดจุดบอดทำให้มองไม่เห็น
    อันก่อให้เกิดอันตรายโดย ไม่คาดคิดขึ้น
    อย่าขับรถยกในขณะที่มีอาการมึนงง หรือใช้รถยก เป็นเครื่องเล่นตลก
    เมื่อท่านจับพวงมาลัยพึงระลึกไว้เสมอว่า ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
    ดังนั้นอย่ากระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดเหตุยุ่งยากแก่ท่านและผู้อื่น
    อยู่ในสภาพพร้อมเสมอ อย่าหลับใน
    ไม่ว่าจะขับขี่ไปในทิศทางใด ใช้สายตาของท่านให้เป็นประโยชน์
    ขับช้าๆ เมื่อผ่านที่เปียกหรือลื่น
    ต้องเข้าใจว่ารถยกอาจจะเสียการทรงตัวในที่เปียกหรือลี่นได้ง่าย
    เราขับรถยกมิใช่แข่งแรลลี่ ดังนั้นควรระมัดระวัง
    เบาเครื่อง ให้สัญญาณแตรเมื่อจะเลี้ยวหัวมุม
    ถ้าสถานที่ทำงานของท่านไม่มีกระจกโค้งให้ดูทางตรง
    หัวมุมต้องระมัดระวังเมื่อจะเลี้ยวโดยการเบาเครื่อง
    แล้วให้สัญญาณแตร และเลี้ยวไปด้วยความระมัดระวัง
    การขับรถยกข้ามทางรถไฟ ต้องไปช้าๆ เป็นแนวทะแยง (ดูรูปประกอบ)
    การขับรถยกที่บรรทุกของเข้ามาทางรถไฟ ย่อมทำให้เกิดกระเทือน
    ดังนั้นเพื่อลดแรงกระเทือน ควรขับทะแยงมุมออกไป เพื่อให้ล้อของรถยก
    ข้ามทางรถไฟทีละล้ออันจะช่วยลดแรงกระเทือนได้
    หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้เสียการทรงตัว
    หลีกเลี่ยงการขับรถยกลงในหลุ่ม-บ่อ หรือสิ่งกีดขวาง อันจะทำให้รถเสียการทรงตัว
    เมื่อยกงาขึ้นสูง พึงระวังสิ่งกีดขวางด้านบน
    พึงระวังสิ่งกีดขวางจากระดับสูง เช่น โคมไฟ สายไฟฟ้า
    ท่อติดเพดาน ท่อน้ำระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ไม้หรือหิน
    ที่วางขวางอยู่บนประตู และสายพานต่างๆ ลดระดับของงา
    ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในบริเวณที่จำกัดความสูง
    ระมัดระวังด้านข้าง
    เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างที่ยื่นเลยออกไปจากตัวรถมากๆ
    ตั้งหลักให้ดี กะระยะให้รถยกวิ่งไประหว่างกึ่งกลางของทางวิ่ง
    อันจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทบกระทั่ง
    จนเกิดความเสียหายต่อสิ่งของหรือตัวบุคคล
    อย่ายื่นมือหรือเท้าออกนอกเขตตัวรถ
    ขณะขับรถยก อย่ายื่นแขน-เท้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดออกนอกตัวรถ
    อวัยวะเหล่านี้มีเพียงติดตัวมาเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้เหมือนอะไหล่รถยก ควรรักษาไว้ให้ดี
    อย่ายกงาค้างเอาไว้
    เมื่อวิ่งรถเปล่า ควรลดลงไว้ในระดับต่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้งาไปเฉี่ยวหรือทิ่มแทงสิ่งของหรือตัวบุคคล
    บรรทุกของใหญ่ของสูง วิธีดีที่สุดคือวิ่งถอยหลัง
    ถ้าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดช่วยบอกทางให้ เมื่อบรรทุกของใหญ่
    หรือของจำนวนมากๆ อันทำให้มองไม่เห็นทางข้างหน้า ถอยหลังวิ่งดีที่สุด
    สังเกตพื้นที่จำกัดน้ำหนัก
    อย่า-ตายใจพื้นต่อหรือเสริมจะรับน้ำหนักรถยกได้ ไม่ว่าจะบรรทุกของหรือเป็นรถเปล่าๆ
    ควรสอบให้แน่ใจว่าพื้นต่อหรือพื้นเสริมนั้นๆ ตรึงไว้แน่นและแข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักรถยกของเราได้
    ห้ามล้อและวัสดุกันมิให้ล้อเลื่อน
    เมื่อต้องทำงานโดยให้รถยกของลงจากรถบรรทุก ขอให้แน่ใจว่ารถบรรทุกนั้นๆ ให้ห้ามล้อ และใช้วัสดุที่กันมิให้เกิดการไหลของรถไว้แล้ว เพราะถ้ารถบรรทุกเกิดเลื่อนออกไปข้างหน้า
    อุบัติเหตุร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถยกแน่นอน
    การขับขึ้นที่ชันหรือลงที่ต่ำ
    การขึ้นที่ชันให้เดินหน้าขึ้น และเมื่อจะลงที่ลาดต่ำ ให้ถอยหลังลง อย่าบรรทุกของและเดินหน้าสู่ที่ต่ำของอาจเลื่อนตกได้ พึงระวังไว้ว่า ในกรณีนี้ควรเดินหน้าหรือถอยหลังช้าๆ
    ควรมีผู้ช่วยบอกทาง เมื่อบรรทุกของสูงใหญ่บังสายตา
    เมื่อบรรทุกของใหญ่ และบังสายตามองทางข้างหน้าไม่เห็น
    ควรมีผู้ช่วยบอกทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
    อย่าใช้รถยกแทนลิฟท์
    รถยกออกแบบมาเพื่อความสะอาดในการยกสิ่งของ
    มิใช่เป็นลิฟท์สำหรับบุคคล อันตรายมากในกรณีที่ไปใช้เช่นนั้น
    รถยกมิใช่รถเมล์
    อย่านำรถยกไปยกของอื่นที่ทางโรงงานไม่ได้ออกแบบให้ยก
    ไม่เป็นการปลอดภัยเลยที่จะบรรทุกผู้คนไปบนรถยก
    ดับเครื่องยนต์เมื่อเลิกใช้งาน
    ไม่ควรจอดรถไว้ที่มีพื้นที่มีพื้นลาดเอียง เพราะอาจจะไหลไป
    ชนใครต่อใครได้ ไม่ควรลืมห้ามล้อ ปลดเกียร์ว่างและดับเครื่องยนต์เสีย
    ห้ามสูบบุหรี่ขณะเติมเชื้อเพลิง
    ดับเครื่องยนต์ เมื่อเติมน้ำมัน หรือตรวจสอบแบตเตอรี่ ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
    ตรวจตรารถยกเมื่อเลิกงาน
    การหมั่นตรวจตรารถยกเป็นเรื่องที่ดี ช่วยให้ประหยัดเวลา
    และค่าโสหุ้ยในการซ่อม และยังส่งผลความปลอดภัย มายังผู้ขับขี่ด้วย ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติในการทำงานของรถยกรีบรายงานต่อผู้รับผิดชอบทันที
    เรียนรู้เกี่ยบกับรถยกให้มากที่สุดแล้วท่านจะสะดวกใจ
    ท่านจะใช้งานรถยกโตโยต้าได้ด้วยความมั่นใจ ในความปลอดภัย สะดวกและรวดเร็ว
    ถ้าปฏิบัติตามข้อแนะนำต่างๆ ตามที่แจ้งให้ทราบแล้ว
    ระวังท้ายปัด
    ให้สถานที่ที่ค่อนข้างแคบ ควรระวังท้ายรถเวลาเลี้ยวท้ายรถ
    อาจจะไปกระทบกับเสาหรือกำแพงได้

    WWW.PCNFORKLIFT.COM
    

    วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

    RFID Enabled Forklift System



    รถยกอัจฉริยะติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี
    ในที่สุดระบบอาร์เอฟไอดีเคลื่อนที่ซึ่งสามารถให้ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบ ณ เวลาจริง และความสามารถในด้านการติดตามข้อมูลในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าก็เกิดขึ้นแล้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ร่วมกันของบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ บริษัท เรดแพรรี (RedPrairie) บริษัท อินเตอร์เมค อิงค์. และบริษัท     แคสเคด (Cascade) คอร์ป. ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยกรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการสร้างรถยกเป็นต้นแบบสำคัญของการแสดงความสามารถของอาร์เอฟไอดีในการะบุตำแหน่งที่ตั้งแบบ ณ เวลาจริงได้อย่างถูกต้องและพร้อมใช้งานในอุปกรณ์แห่งอนาคตนี้
    รถยกคันนี้ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ Wireless Location Appliance ของบริษัท ซิสโก้ และซอฟต์แวร์ Mobile Resource Management ในมาตรฐานแบบเปิดของบริษัท เรดแพรรี ผสานกับระบบอ่านอาร์เอฟไอดีสำหรับรถยกที่พัฒนาโดยบริษัท อินเตอร์เมค และบริษัท แคสเคด ด้วยระบบที่สมบูรณ์     ผู้ขับรถยกสามารถอ่านและเข้ารหัสป้าย (tag) อาร์เอฟไอดีได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องลงจากรถก่อน และผู้จัดการจะได้รับข้อมูลในเวลาจริงเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งและการทำงานของรถยกที่สามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นมาใช้จัดการแรงงานและสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    การผสานร่วมกันของ Unified Wireless Network ซึ่งเป็นบริการเครือข่ายไร้สายของบริษัท ซิสโก้ และ Wireless Location Appliance จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดตามตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายไร้สาย 802.11 ได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ซอฟต์แวร์ของบริษัท เรดแพรรี จะช่วยระบุตำแหน่งของรถยกที่ติดตั้งอาร์เอฟไอดี รายงานการเคลื่อนที่ ตรวจสอบเวลาที่อยู่ และเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย ตรวจสอบประสิทธิภาพของพนักงาน พร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นดูแลรักษาและจัดการสินทรัพย์
    ซอฟต์แวร์ Mobile Resource Management ของบริษัท เรดแพรรี ที่ผสานเข้ากับ Wireless Location Appliance จะก่อให้เกิดการประมวลผลข้อมูลขั้นสูงและความสามารถในด้านส่วนการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) ที่ ทำให้ใช้งานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิม ได้แก่ แอพพลิเคชั่นบริหารจัดการคลังสินค้า บริหารจัดการพื้นที่คลังสินค้า วางแผนแรงงาน และบริหารจัดการสินทรัพย์ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงาน การจัดการประสิทธิภาพกำลังคน และการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    ระบบที่สมบูรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ขับรถยกที่ต้องใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีร่วมด้วยนั้น สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และยังให้ข้อมูลด้านการจัดการที่สามารถปรับใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนต่างๆ ของระบบได้รวมเอาลักษณะเฉพาะที่สามารถเอาชนะข้อจำกัดทางกายภาพและไร้สายในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้
    รถยกของกลุ่มความร่วมมือนี้ได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ไว้ด้านหน้าคนขับ ในตำแหน่งที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่ส่วนควบคุมอาร์เอฟไอดีก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย สามารถติดตามตำแหน่งได้ ณ เวลาจริง และยังมีไฟแอลอีดีนำทางเพื่อระบุเส้นทางที่เหมาะสม ตลอดจนเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีที่ถูกปรับให้ใช้งานง่ายขึ้น รถยกอัจฉริยะคันนี้ออกแบบมาให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมจริงของคลังสินค้าปัจจุบัน นอกจากนี้ยังผสานระบบจัดการเคเบิล สแกนไร้สายรุ่นใหม่ และกล้องในตัวสำหรับช่วยงานด้านเอกสารของสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

    WWW.PCNFORKLIFT.COM

    Toyota 8-Series forklift called to receiving


    รถยกโฟล์คลิฟท์ไม่มีคนขับ ทำงานด้วยเสียง และระบบ gps

    WWW.PCNFORKLIFT.COM